ความต่างระหว่างความเชื่อไม่ได้หมายความว่าผู้คนสามารถฆ่ากันได้ นอกจากอิสลามไม่เคยอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นแล้ว ทว่า อิสลามยังเน้นย้ำให้เราแสดงออกซึ่งความรัก ความเคารพและหลีกห่างการแสดงความเกลียดชังให้แก่กันอีกด้วย Maulana Tariq Jameel

สามเส้าของแนวคิดสุดโต่ง (ตอนที่ 1)

พร้อมๆ กับความรุนแรงในแคชมีร์ที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ชื่อของบูรฮาน วานี (Burhan Wani) เด็กหนุ่มจากเมืองปุลวามาก็ได้รับการเอ่ยถึงอยู่บ่อยครั้งทั้งจากสื่อมวลชนและประชาชนในพื้นที่ในฐานะอดีตหัวหน้านักรบของกองกำลังปลดแอกแคชมีร์ ฮิซบัลมุจญาฮิดีน (Hizb-ul-Mujahideen) ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแคชมีร์ ณ ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในประเทศซีเรีย ชามิน่า เบกุม เด็กสาวสัญชาติอังกฤษเชื้อสายบังกลาเทศหนึ่งในเด็กสาวสามคนจากเขตเบทนัลกรีนในกรุงลอนดอนที่หายตัวจากบ้านไปเพื่อเข้าร่วมขบวนการไอเอส (IS – Islamic State) ในประเทศซีเรียก็กำลังพยายามร้องขอต่อรัฐบาลอังกฤษเช่นกัน น่าสนใจว่าอะไรคือแรงกระตุ้นที่ทำให้คนหรือสังคมหนึ่งๆ มีใจโน้มเอียงไปทางแนวคิดสุดโต่ง?

Bodhu Bala Sena : แกนนำแนวคิดสุดโต่งในศรีลังกา

ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่มีความเคลื่อนไหวของแนวคิดพุทธสุดโต่งอย่างชัดเจน บทความนี้ จึงอยากให้ทุกท่านได้รู้จักกับกลุ่ม Bodhu Bala Sena หรือ The Buddhist Power Force (บ้างก็แปลว่า The Army of Buddhist Power) ซึ่งเป็นองค์กรชาตินิยมชาวพุทธสิงหล ที่เป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวและเผยแพร่แนวคิดพุทธสุดโต่งในศรีลังกา

พรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน: งานสันติภาพที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (ตอนที่ 2)

จากบทความ พรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน: งานสันติภาพที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (ตอนที่ 1) ว่าด้วยความพยายามของนักการทูตของภาคประชาชน (Citizen Diplomacy) ในการสร้างความปรองดอง ที่กลายเป็น “ตัวแสดงหลัก” ในการสร้างสันติภาพบนพื้นที่รอยต่อระหว่างเส้นพรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน นอกเหนือไปจากการทำงานของ Routes 2 Roots (R2R) แล้วยังมีการทำงานเพื่อสร้างความปรองดองของภาคประชาสังคมที่มีบทบาทสำคัญอีกหลายกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการนำสันติภาพมาสู่พรมแดนอินเดีย-ปากีสถานแห่งนี้

สูตรสำเร็จข่าวปลอมในอินเดีย ตอนที่ 2

จากสถานการณ์ปัญหาข่าวปลอมที่กระจายตัว และสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวาง รัฐบาลอินเดียได้ใช้โอกาสนี้เข้าแทรกแซงเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความยุติธรรมในการใช้อำนาจดังกล่าว จนเกิดเป็นคำถามว่ารัฐบาลจะทำลายปีศาจตัวเดิมโดยการสร้างปีศาจตัวใหม่ขึ้นมาเองหรือไม่

รามรถยาตรา ภาพสะท้อนฮินดูสุดโต่ง

รามราช ยาตรา (Ram Rath Yatra) ปี ค.ศ. 1990 ถือเป็นเหตุการณ์การแสวงบุญที่มีการจลาจล การนองเลือด และคราบน้ำตา ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ในอินเดีย จากการเอาชาตินิยมของศาสนามาเป็นเครื่องต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง ปรากฎการณ์ดังกล่าวเผยให้เห็นถึงแนวคิดฮินดูสุดโต่งในสังคมอินเดีย ประวัติศาสตร์ความทรงจำอันเลวร้ายครั้งดังกล่าวยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาจนถึงปัจจุบัน

พรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน: งานสันติภาพที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (ตอนที่ 1)

รอยบาดแผลแห่งอดีตหลังการแยกประเทศตั้งแต่ปี 1947 ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ความรุนแรงก็ยัง “ลืมตาและขับเคลื่อน” เด่นชัดกว่าภาพ “รอยยิ้ม” ผ่านเส้นพรหมแดนอินเดีย-ปากีสถาน หนำซ้ำปมแห่งอดีตได้ลามเลียสังคมอนุทวีปและกระชากความสัมพันธ์อันดีของผู้คนได้อย่างน่าใจหาย และบ่อยครั้งที่เราเสพข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องราวของความขัดแย้ง ความรุนแรง ระเบิดและการฆ่าฟันจากพื้นที่แห่งนี้ แต่ยังคงมีความพยายามของภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่มุ่งสร้างความปรองดองมาโดยตลอด เพราะคนเหล่านี้ต่างรู้ดีว่า “เส้นพรหมแดนที่มาแบ่ง” เป็นเพียง “เขตแดนแห่งความต่างและความเชื่อ”

สังหารหมู่ชาวมุสลิม “นิวซีแลนด์” ผ่านความรุนแรงอันสุกงอม

ขณะเรา “เคลื่อนวิถีโลก” และ “ผลักวิธีคิด” ของผู้คนไปสบตา “สันติภาพ” และความสวยงามของ “สันติวิธี” วันที่ 15 มีนาคม 2562 เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็ “ถีบ” เรากลับไปจมดิ่งใต้วงล้อมของความรุนแรงอีกรอบ เมื่อกระบอกปืน “เปล่งเสียง” และ “เหนี่ยวไก” เร็วกว่า “งานสันติภาพ” ที่เรากำลังเข้าใกล้ ส่งผลให้ผู้คน 49 ชีวิตล้มตายและบาดเจ็บกว่า 40 คนด้วยการถูกกราดยิงในมัสยิดในวันศุกร์

สูตรสำเร็จข่าวปลอมในอินเดีย (ตอนที่ 1)

ข่าวปลอมถือเป็นภัยทางความมั่นคงของประเทศอินเดีย เมื่อบวกกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้การแพร่กระจายเนื้อหาเป็นไปอย่างรวดเร็วและปราศจากการตรวจสอบ ดังนั้นเมื่อผู้ผลิตสื่อขาดกลไกการตรวจสอบ กำกับ ควบคุม และคัดกรองจากตนเองแล้ว รัฐบาลอินเดียจึงเล็งเห็นว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบให้เกิดความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือในส่วนของผู้เผยแพร่ข้อมูล รัฐบาลอินเดียจึงเริ่มใช้มาตรการที่จะควบคุมการแสดงตัวตนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แม้จะมีคำกล่าวที่ว่า “อินเดียเป็นประเทศประธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก”

สาเหตุนิยมความรุนแรงสุดโต่งมุสลิม

รากฐานของความวุ่นวายของสังคมมุสลิมในปัจจุบัน มิได้เกิดจากตัวบทของศาสนา แต่เกิดจากผู้ใช้หลักการทางศาสนาครึ่งใบในการนำแนวคิดการต่อสู้ และใช้ความรุนแรงโดยอ้างศาสนามาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงทางความคิด เปลี่ยนแปลงอุดุมการณ์ จนสร้างกลุ่มก้อนของแนวคิดสุดโต่งในสังคม เพื่อเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จนนำมาสู่การใช้ความรุนแรงตอบโต้กัน