บาบรีมัสยิด: แผ่นดินจินตกรรมของมุสลิม-ฮินดูในอินเดีย

ขณะปัญหาจัมมูและแคชเมียร์ยังหลุดไม่พ้นจากห้วงความทรงจำของสังคมอินเดียและประชาคมโลก ปัญหาใหม่ก็ผุดขึ้นมาอีกระลอกในประเทศอินเดีย จากท่าทีการดำเนินนโยบายของนเรนทรา โมดีอยู่ภายใต้แนวคิดสุดโต่งของกลุ่มฮินดูหัวรุนแรง (RSS) ทำให้ข้อพิพาทระหว่างมุสลิมและชาวฮินดู เรื่อง บาบรีมัสยิด (Babri Mosque) ในเมืองอโยธยา (Ayodhya) ทางตอนเหนือของรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) กลับ “ฟื้นคืนชีพ” อีกครั้ง

ปากีสถาน-อิหร่าน : นัยยะสำคัญของการพบปะกันระหว่างผู้นำ 2 ประเทศ

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2562 อิมราน ข่าน (Imran Khan) นายกรัฐมนตรีของปากีสถานออกเดินทางไปยังกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เพื่อเข้าพบประธานาธิบดีของอิหร่าน ดร. ฮัสซัน โรฮานี (Dr. Hassan Rouhani)
แม้เหตุผลการเดินทางในครั้งนี้มีเป้าหมายหลักในฐานะคนกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและซาอุดิอาราเบีย แต่ประเด็นหลักที่สำหรับอิมราน ข่าน คือ “ปัญหาแคชเมียร์” ทำให้การพบปะระหว่างอิมราน ข่านและโรฮานีครั้งนี้ “ประเด็นแคชเมียร์” จึงเป็นหัวข้อการแลกเปลี่ยนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

“จัมมูและแคชเมียร์” สถานะและความเป็นไปในแผ่นดินอินเดีย

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียใต้ หลังจากรัฐบาลอินเดียได้ประกาศยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตราที่ 370 และ 35 A รวมทั้งส่งกองกำลังทหารกว่า 35,000 คนเพื่อตรึงพื้นที่ในรัฐจัมมูและแคชเมียร์ เริ่มมีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และห้ามมีการชุมนุมในที่สาธารณะ เป็นการบ่งบอกถึงสถานภาพเขตปกครองพิเศษของรัฐจัมมูและแคชเมียร์ที่เคยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งถูกบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 1957 ได้สิ้นสุดลง
การยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ส่งผลให้ดินแดนดังกล่าวต้องเปลี่ยนสถานะมาอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาลกลางของอินเดีย รวมทั้งอาจทำให้เกิด “กงล้อความรุนแรงระลอกใหม่” ขึ้นมาอีกครั้ง

พุทธสุดโต่งในเมียนมา: ความบาดหมางระหว่างชาติพันธุ์และศาสนา

เมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา ภาพของกลุ่มพระภิกษุในเมียนมาออกมาร่วมประท้วงร่วมกับชาวพุทธเพื่อเรียกร้องและผลักดันให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาออกนอกประเทศ การก่อการจราจลและการใช้ความรุนแรงของชาวพุทธในเมียนมาต่อชาวมุสลิมในเมียนมา ทำให้มีการตั้งคำถามถึงแนวคิดของพุทธศาสนา ที่เน้นเรื่องความไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายผู้อื่น แต่เหตุใดพระภิกษุสงฆ์ถึงมาร่วมในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ด้วย

สื่อมุสลิมในไทย

โรคเกลียดกลัวอิสลาม (Islamophobia) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลามกับกลุ่มศาสนาอื่น ๆ อิสลามถูกมองว่าเป็นศาสนาที่ใช้ความรุนแรง และนำคำสอนของศาสนามาชักจูงให้เกิดการก่อการร้ายทั่วทุกมุมโลก แม้ว่าหลักคำสอนของศาสนาอิสลามนั้น เน้นในเรื่องความสันติ ความสงบสุข และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ด้วยปัญหานี้การจัดตั้งสื่อมุสลิมขึ้นมาในสังคมไทยเพื่อนำเสนอโลกมุสลิมให้สังคมไทยเข้าใจอิสลามมากขึ้น

Notes on Nationalism

ประวัติศาสตร์สัมพันธ์กับจินตนาการว่าด้วยความเป็นพลเมืองในรัฐชาติเดียวกันอย่างไร? ประวัติศาสตร์นั้นเป็นโครงสร้างของเรื่องเล่าที่ทำหน้าที่ในการค้ำชู“ความเป็นชาติ” ผ่านเรื่องเล่าต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ในสังคม ต่อเรื่องเล่าเหล่านี้ยังได้กลายมาเป็นจินตนาการที่ทำให้ปัจเจกมองเห็นตนเองในฐานะพลเมืองของชาติหนึ่งๆ ผ่านการคัดส่วนที่ใช้ได้และคัดทิ้งความจริงหลายส่วนออกไป

ถอดบทเรียนจากเหตุระเบิดศรีลังกา – รายการคิดบวก

ภายหลังจากเหตุระเบิดในประเทศศรีลังกาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2562 เหตุการณ์นี้เป็นเหตุก่อการร้ายขนาดใหญ่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในศรีลังกานับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จึงนำมาซึ่งการสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมองในเหตุระเบิดครั้งนี้ โดยผศ.ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรายการคิดบวก ช่อง PPTV ออกอากาศเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2562

ศรีลังกา: ความ “น่าจะเป็น” และความเป็นไปที่ “น่าจะห่วง”

ภายใต้สถานการณ์เปราะบางของศรีลังกาเช่นนี้ สื่อหลาย ๆ สำนัก พยายามนำเสนอในรูปของการชี้ประเด็นและชี้ชัดว่าใคร กลุ่มไหน และขับเคลื่อนด้วยวิธีใด แต่เรื่องดังกล่าวส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ สื่อของศรีลังกา จึงไม่พยายาม “ฟันธง” แบบด่วนสรุป เพราะชาวศรีลังการู้ดีว่า การนำเสนอแบบฟันธงอาจก่อให้เกิดความรุนแรงตอบโต้ตามมา จนอาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งอย่างที่เคยเกิดขึ้นระหว่างสิงหลและทมิฬในอดีตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สื่อและเหตุการณ์ความไม่สงบในศรีลังกา

ในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงในศรีลังการะหว่างเทศกาลปัสกา (Easter) ที่ผ่านมา การรายงานข่าวของสื่อเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยช่วยให้เราติดตามและเข้าใจความเป็นไปของสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องยอมรับว่า การทำงานของสื่อ โดยเฉพาะสื่อและสำนักข่าวต่างประเทศที่ไม่ต้องรับผลที่จะตามมาของการรายงานข่าวของตน ก็อาจจะกลายเป็นน้ำมันที่ช่วยโหมเชื้อไฟแห่งความขัดแย้งที่ครุกรุ่นอยู่ในพื้นที่ให้รุนแรงยิ่งขึ้นได้เช่นกัน

ศรีลังกา: บาดแผลและหยดน้ำตาในเอเชียใต้

หลังจากเหตุการณ์การกราดยิงในมัสยิดที่ประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาเหตุการณ์ความสลดก็เกิดขึ้นอีกครั้งในประเทศศรีลังกาในวันอาทิตย์ที่ 21เมษายน 2562 ด้วยการวางระเบิดกว่า 8 จุด เหตุการณ์ในครั้งนี้มีผู้บาดเจ็บกว่า 500 คน จนรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ดังกล่าว แม้สถานที่ทั้งสองที่เกิดขึ้นจะต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การก่อเหตุในพื้นที่ศาสนสถานและผู้คนกำลังร่วมพิธีกรรมทางศาสนาไม่ต่างกัน