บาบรีมัสยิด: แผ่นดินจินตกรรมของมุสลิม-ฮินดูในอินเดีย

ขณะปัญหาจัมมูและแคชเมียร์ยังหลุดไม่พ้นจากห้วงความทรงจำของสังคมอินเดียและประชาคมโลก ปัญหาใหม่ก็ผุดขึ้นมาอีกระลอกในประเทศอินเดีย จากท่าทีการดำเนินนโยบายของนเรนทรา โมดีอยู่ภายใต้แนวคิดสุดโต่งของกลุ่มฮินดูหัวรุนแรง (RSS) ทำให้ข้อพิพาทระหว่างมุสลิมและชาวฮินดู เรื่อง บาบรีมัสยิด (Babri Mosque) ในเมืองอโยธยา (Ayodhya) ทางตอนเหนือของรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) กลับ “ฟื้นคืนชีพ” อีกครั้ง

ปากีสถาน-อิหร่าน : นัยยะสำคัญของการพบปะกันระหว่างผู้นำ 2 ประเทศ

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2562 อิมราน ข่าน (Imran Khan) นายกรัฐมนตรีของปากีสถานออกเดินทางไปยังกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เพื่อเข้าพบประธานาธิบดีของอิหร่าน ดร. ฮัสซัน โรฮานี (Dr. Hassan Rouhani)
แม้เหตุผลการเดินทางในครั้งนี้มีเป้าหมายหลักในฐานะคนกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและซาอุดิอาราเบีย แต่ประเด็นหลักที่สำหรับอิมราน ข่าน คือ “ปัญหาแคชเมียร์” ทำให้การพบปะระหว่างอิมราน ข่านและโรฮานีครั้งนี้ “ประเด็นแคชเมียร์” จึงเป็นหัวข้อการแลกเปลี่ยนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

“จัมมูและแคชเมียร์” สถานะและความเป็นไปในแผ่นดินอินเดีย

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียใต้ หลังจากรัฐบาลอินเดียได้ประกาศยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตราที่ 370 และ 35 A รวมทั้งส่งกองกำลังทหารกว่า 35,000 คนเพื่อตรึงพื้นที่ในรัฐจัมมูและแคชเมียร์ เริ่มมีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และห้ามมีการชุมนุมในที่สาธารณะ เป็นการบ่งบอกถึงสถานภาพเขตปกครองพิเศษของรัฐจัมมูและแคชเมียร์ที่เคยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งถูกบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 1957 ได้สิ้นสุดลง
การยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ส่งผลให้ดินแดนดังกล่าวต้องเปลี่ยนสถานะมาอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาลกลางของอินเดีย รวมทั้งอาจทำให้เกิด “กงล้อความรุนแรงระลอกใหม่” ขึ้นมาอีกครั้ง

ศรีลังกา: ความ “น่าจะเป็น” และความเป็นไปที่ “น่าจะห่วง”

ภายใต้สถานการณ์เปราะบางของศรีลังกาเช่นนี้ สื่อหลาย ๆ สำนัก พยายามนำเสนอในรูปของการชี้ประเด็นและชี้ชัดว่าใคร กลุ่มไหน และขับเคลื่อนด้วยวิธีใด แต่เรื่องดังกล่าวส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ สื่อของศรีลังกา จึงไม่พยายาม “ฟันธง” แบบด่วนสรุป เพราะชาวศรีลังการู้ดีว่า การนำเสนอแบบฟันธงอาจก่อให้เกิดความรุนแรงตอบโต้ตามมา จนอาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งอย่างที่เคยเกิดขึ้นระหว่างสิงหลและทมิฬในอดีตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สื่อและเหตุการณ์ความไม่สงบในศรีลังกา

ในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงในศรีลังการะหว่างเทศกาลปัสกา (Easter) ที่ผ่านมา การรายงานข่าวของสื่อเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยช่วยให้เราติดตามและเข้าใจความเป็นไปของสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องยอมรับว่า การทำงานของสื่อ โดยเฉพาะสื่อและสำนักข่าวต่างประเทศที่ไม่ต้องรับผลที่จะตามมาของการรายงานข่าวของตน ก็อาจจะกลายเป็นน้ำมันที่ช่วยโหมเชื้อไฟแห่งความขัดแย้งที่ครุกรุ่นอยู่ในพื้นที่ให้รุนแรงยิ่งขึ้นได้เช่นกัน

ศรีลังกา: บาดแผลและหยดน้ำตาในเอเชียใต้

หลังจากเหตุการณ์การกราดยิงในมัสยิดที่ประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาเหตุการณ์ความสลดก็เกิดขึ้นอีกครั้งในประเทศศรีลังกาในวันอาทิตย์ที่ 21เมษายน 2562 ด้วยการวางระเบิดกว่า 8 จุด เหตุการณ์ในครั้งนี้มีผู้บาดเจ็บกว่า 500 คน จนรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ดังกล่าว แม้สถานที่ทั้งสองที่เกิดขึ้นจะต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การก่อเหตุในพื้นที่ศาสนสถานและผู้คนกำลังร่วมพิธีกรรมทางศาสนาไม่ต่างกัน

ความต่างระหว่างความเชื่อไม่ได้หมายความว่าผู้คนสามารถฆ่ากันได้ นอกจากอิสลามไม่เคยอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นแล้ว ทว่า อิสลามยังเน้นย้ำให้เราแสดงออกซึ่งความรัก ความเคารพและหลีกห่างการแสดงความเกลียดชังให้แก่กันอีกด้วย Maulana Tariq Jameel

ใครคือกลุ่ม Jaish-e-Mohammad

สาเหตุของความตึงเครียดระหว่างอินเดียกับปากีสถาน จนนำไปสู่การตอบโต้ทางทหาร และอาจเป็นประเด็นที่จะเป็นฉนวนสงคราม คือ ปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้าย Jaish-e-Mohammad, JeM (ทหารของศาสดามูฮำหมัด) ซึ่งได้ก่อการร้ายในเมือง Pulwawa ในแคว้นแคชเมียร์ของอินเดียในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นความรุนแรงในรอบหลายสิบปีที่ประสบต่อคนที่สำคัญด้านความมั่นคงของอินเดีย

Photo by https://images.theconversation.com/files/207528/original/file-20180222-152363-1re023n.jpg?ixlib=rb-1.1.0&q=45&auto=format&w=926&fit=clip