“จัมมูและแคชเมียร์” สถานะและความเป็นไปในแผ่นดินอินเดีย

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียใต้ หลังจากรัฐบาลอินเดียได้ประกาศยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตราที่ 370 และ 35 A รวมทั้งส่งกองกำลังทหารกว่า 35,000 คนเพื่อตรึงพื้นที่ในรัฐจัมมูและแคชเมียร์ เริ่มมีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และห้ามมีการชุมนุมในที่สาธารณะ เป็นการบ่งบอกถึงสถานภาพเขตปกครองพิเศษของรัฐจัมมูและแคชเมียร์ที่เคยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งถูกบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 1957 ได้สิ้นสุดลง
การยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ส่งผลให้ดินแดนดังกล่าวต้องเปลี่ยนสถานะมาอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาลกลางของอินเดีย รวมทั้งอาจทำให้เกิด “กงล้อความรุนแรงระลอกใหม่” ขึ้นมาอีกครั้ง

พุทธสุดโต่งในเมียนมา: ความบาดหมางระหว่างชาติพันธุ์และศาสนา

เมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา ภาพของกลุ่มพระภิกษุในเมียนมาออกมาร่วมประท้วงร่วมกับชาวพุทธเพื่อเรียกร้องและผลักดันให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาออกนอกประเทศ การก่อการจราจลและการใช้ความรุนแรงของชาวพุทธในเมียนมาต่อชาวมุสลิมในเมียนมา ทำให้มีการตั้งคำถามถึงแนวคิดของพุทธศาสนา ที่เน้นเรื่องความไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายผู้อื่น แต่เหตุใดพระภิกษุสงฆ์ถึงมาร่วมในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ด้วย

สื่อมุสลิมในไทย

โรคเกลียดกลัวอิสลาม (Islamophobia) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลามกับกลุ่มศาสนาอื่น ๆ อิสลามถูกมองว่าเป็นศาสนาที่ใช้ความรุนแรง และนำคำสอนของศาสนามาชักจูงให้เกิดการก่อการร้ายทั่วทุกมุมโลก แม้ว่าหลักคำสอนของศาสนาอิสลามนั้น เน้นในเรื่องความสันติ ความสงบสุข และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ด้วยปัญหานี้การจัดตั้งสื่อมุสลิมขึ้นมาในสังคมไทยเพื่อนำเสนอโลกมุสลิมให้สังคมไทยเข้าใจอิสลามมากขึ้น

Notes on Nationalism

ประวัติศาสตร์สัมพันธ์กับจินตนาการว่าด้วยความเป็นพลเมืองในรัฐชาติเดียวกันอย่างไร? ประวัติศาสตร์นั้นเป็นโครงสร้างของเรื่องเล่าที่ทำหน้าที่ในการค้ำชู“ความเป็นชาติ” ผ่านเรื่องเล่าต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ในสังคม ต่อเรื่องเล่าเหล่านี้ยังได้กลายมาเป็นจินตนาการที่ทำให้ปัจเจกมองเห็นตนเองในฐานะพลเมืองของชาติหนึ่งๆ ผ่านการคัดส่วนที่ใช้ได้และคัดทิ้งความจริงหลายส่วนออกไป

ถอดบทเรียนจากเหตุระเบิดศรีลังกา – รายการคิดบวก

ภายหลังจากเหตุระเบิดในประเทศศรีลังกาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2562 เหตุการณ์นี้เป็นเหตุก่อการร้ายขนาดใหญ่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในศรีลังกานับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จึงนำมาซึ่งการสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมองในเหตุระเบิดครั้งนี้ โดยผศ.ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรายการคิดบวก ช่อง PPTV ออกอากาศเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2562

สื่อและเหตุการณ์ความไม่สงบในศรีลังกา

ในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงในศรีลังการะหว่างเทศกาลปัสกา (Easter) ที่ผ่านมา การรายงานข่าวของสื่อเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยช่วยให้เราติดตามและเข้าใจความเป็นไปของสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องยอมรับว่า การทำงานของสื่อ โดยเฉพาะสื่อและสำนักข่าวต่างประเทศที่ไม่ต้องรับผลที่จะตามมาของการรายงานข่าวของตน ก็อาจจะกลายเป็นน้ำมันที่ช่วยโหมเชื้อไฟแห่งความขัดแย้งที่ครุกรุ่นอยู่ในพื้นที่ให้รุนแรงยิ่งขึ้นได้เช่นกัน

สามเส้าของแนวคิดสุดโต่ง (ตอนที่ 1)

พร้อมๆ กับความรุนแรงในแคชมีร์ที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ชื่อของบูรฮาน วานี (Burhan Wani) เด็กหนุ่มจากเมืองปุลวามาก็ได้รับการเอ่ยถึงอยู่บ่อยครั้งทั้งจากสื่อมวลชนและประชาชนในพื้นที่ในฐานะอดีตหัวหน้านักรบของกองกำลังปลดแอกแคชมีร์ ฮิซบัลมุจญาฮิดีน (Hizb-ul-Mujahideen) ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแคชมีร์ ณ ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในประเทศซีเรีย ชามิน่า เบกุม เด็กสาวสัญชาติอังกฤษเชื้อสายบังกลาเทศหนึ่งในเด็กสาวสามคนจากเขตเบทนัลกรีนในกรุงลอนดอนที่หายตัวจากบ้านไปเพื่อเข้าร่วมขบวนการไอเอส (IS – Islamic State) ในประเทศซีเรียก็กำลังพยายามร้องขอต่อรัฐบาลอังกฤษเช่นกัน น่าสนใจว่าอะไรคือแรงกระตุ้นที่ทำให้คนหรือสังคมหนึ่งๆ มีใจโน้มเอียงไปทางแนวคิดสุดโต่ง?

Bodhu Bala Sena : แกนนำแนวคิดสุดโต่งในศรีลังกา

ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่มีความเคลื่อนไหวของแนวคิดพุทธสุดโต่งอย่างชัดเจน บทความนี้ จึงอยากให้ทุกท่านได้รู้จักกับกลุ่ม Bodhu Bala Sena หรือ The Buddhist Power Force (บ้างก็แปลว่า The Army of Buddhist Power) ซึ่งเป็นองค์กรชาตินิยมชาวพุทธสิงหล ที่เป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวและเผยแพร่แนวคิดพุทธสุดโต่งในศรีลังกา

สูตรสำเร็จข่าวปลอมในอินเดีย ตอนที่ 2

จากสถานการณ์ปัญหาข่าวปลอมที่กระจายตัว และสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวาง รัฐบาลอินเดียได้ใช้โอกาสนี้เข้าแทรกแซงเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความยุติธรรมในการใช้อำนาจดังกล่าว จนเกิดเป็นคำถามว่ารัฐบาลจะทำลายปีศาจตัวเดิมโดยการสร้างปีศาจตัวใหม่ขึ้นมาเองหรือไม่

รามรถยาตรา ภาพสะท้อนฮินดูสุดโต่ง

รามราช ยาตรา (Ram Rath Yatra) ปี ค.ศ. 1990 ถือเป็นเหตุการณ์การแสวงบุญที่มีการจลาจล การนองเลือด และคราบน้ำตา ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ในอินเดีย จากการเอาชาตินิยมของศาสนามาเป็นเครื่องต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง ปรากฎการณ์ดังกล่าวเผยให้เห็นถึงแนวคิดฮินดูสุดโต่งในสังคมอินเดีย ประวัติศาสตร์ความทรงจำอันเลวร้ายครั้งดังกล่าวยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาจนถึงปัจจุบัน