บาบรีมัสยิด: แผ่นดินจินตกรรมของมุสลิม-ฮินดูในอินเดีย

ขณะปัญหาจัมมูและแคชเมียร์ยังหลุดไม่พ้นจากห้วงความทรงจำของสังคมอินเดียและประชาคมโลก ปัญหาใหม่ก็ผุดขึ้นมาอีกระลอกในประเทศอินเดีย จากท่าทีการดำเนินนโยบายของนเรนทรา โมดีอยู่ภายใต้แนวคิดสุดโต่งของกลุ่มฮินดูหัวรุนแรง (RSS) ทำให้ข้อพิพาทระหว่างมุสลิมและชาวฮินดู เรื่อง บาบรีมัสยิด (Babri Mosque) ในเมืองอโยธยา (Ayodhya) ทางตอนเหนือของรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) กลับ “ฟื้นคืนชีพ” อีกครั้ง

ปากีสถาน-อิหร่าน : นัยยะสำคัญของการพบปะกันระหว่างผู้นำ 2 ประเทศ

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2562 อิมราน ข่าน (Imran Khan) นายกรัฐมนตรีของปากีสถานออกเดินทางไปยังกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เพื่อเข้าพบประธานาธิบดีของอิหร่าน ดร. ฮัสซัน โรฮานี (Dr. Hassan Rouhani)
แม้เหตุผลการเดินทางในครั้งนี้มีเป้าหมายหลักในฐานะคนกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและซาอุดิอาราเบีย แต่ประเด็นหลักที่สำหรับอิมราน ข่าน คือ “ปัญหาแคชเมียร์” ทำให้การพบปะระหว่างอิมราน ข่านและโรฮานีครั้งนี้ “ประเด็นแคชเมียร์” จึงเป็นหัวข้อการแลกเปลี่ยนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

“จัมมูและแคชเมียร์” สถานะและความเป็นไปในแผ่นดินอินเดีย

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียใต้ หลังจากรัฐบาลอินเดียได้ประกาศยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตราที่ 370 และ 35 A รวมทั้งส่งกองกำลังทหารกว่า 35,000 คนเพื่อตรึงพื้นที่ในรัฐจัมมูและแคชเมียร์ เริ่มมีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และห้ามมีการชุมนุมในที่สาธารณะ เป็นการบ่งบอกถึงสถานภาพเขตปกครองพิเศษของรัฐจัมมูและแคชเมียร์ที่เคยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งถูกบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 1957 ได้สิ้นสุดลง
การยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ส่งผลให้ดินแดนดังกล่าวต้องเปลี่ยนสถานะมาอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาลกลางของอินเดีย รวมทั้งอาจทำให้เกิด “กงล้อความรุนแรงระลอกใหม่” ขึ้นมาอีกครั้ง

พุทธสุดโต่งในเมียนมา: ความบาดหมางระหว่างชาติพันธุ์และศาสนา

เมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา ภาพของกลุ่มพระภิกษุในเมียนมาออกมาร่วมประท้วงร่วมกับชาวพุทธเพื่อเรียกร้องและผลักดันให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาออกนอกประเทศ การก่อการจราจลและการใช้ความรุนแรงของชาวพุทธในเมียนมาต่อชาวมุสลิมในเมียนมา ทำให้มีการตั้งคำถามถึงแนวคิดของพุทธศาสนา ที่เน้นเรื่องความไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายผู้อื่น แต่เหตุใดพระภิกษุสงฆ์ถึงมาร่วมในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ด้วย

สื่อมุสลิมในไทย

โรคเกลียดกลัวอิสลาม (Islamophobia) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลามกับกลุ่มศาสนาอื่น ๆ อิสลามถูกมองว่าเป็นศาสนาที่ใช้ความรุนแรง และนำคำสอนของศาสนามาชักจูงให้เกิดการก่อการร้ายทั่วทุกมุมโลก แม้ว่าหลักคำสอนของศาสนาอิสลามนั้น เน้นในเรื่องความสันติ ความสงบสุข และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ด้วยปัญหานี้การจัดตั้งสื่อมุสลิมขึ้นมาในสังคมไทยเพื่อนำเสนอโลกมุสลิมให้สังคมไทยเข้าใจอิสลามมากขึ้น

Notes on Nationalism

ประวัติศาสตร์สัมพันธ์กับจินตนาการว่าด้วยความเป็นพลเมืองในรัฐชาติเดียวกันอย่างไร? ประวัติศาสตร์นั้นเป็นโครงสร้างของเรื่องเล่าที่ทำหน้าที่ในการค้ำชู“ความเป็นชาติ” ผ่านเรื่องเล่าต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ในสังคม ต่อเรื่องเล่าเหล่านี้ยังได้กลายมาเป็นจินตนาการที่ทำให้ปัจเจกมองเห็นตนเองในฐานะพลเมืองของชาติหนึ่งๆ ผ่านการคัดส่วนที่ใช้ได้และคัดทิ้งความจริงหลายส่วนออกไป

ถอดบทเรียนจากเหตุระเบิดศรีลังกา – รายการคิดบวก

ภายหลังจากเหตุระเบิดในประเทศศรีลังกาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2562 เหตุการณ์นี้เป็นเหตุก่อการร้ายขนาดใหญ่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในศรีลังกานับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จึงนำมาซึ่งการสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมองในเหตุระเบิดครั้งนี้ โดยผศ.ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรายการคิดบวก ช่อง PPTV ออกอากาศเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2562

ศรีลังกา: ความ “น่าจะเป็น” และความเป็นไปที่ “น่าจะห่วง”

ภายใต้สถานการณ์เปราะบางของศรีลังกาเช่นนี้ สื่อหลาย ๆ สำนัก พยายามนำเสนอในรูปของการชี้ประเด็นและชี้ชัดว่าใคร กลุ่มไหน และขับเคลื่อนด้วยวิธีใด แต่เรื่องดังกล่าวส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ สื่อของศรีลังกา จึงไม่พยายาม “ฟันธง” แบบด่วนสรุป เพราะชาวศรีลังการู้ดีว่า การนำเสนอแบบฟันธงอาจก่อให้เกิดความรุนแรงตอบโต้ตามมา จนอาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งอย่างที่เคยเกิดขึ้นระหว่างสิงหลและทมิฬในอดีตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สื่อและเหตุการณ์ความไม่สงบในศรีลังกา

ในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงในศรีลังการะหว่างเทศกาลปัสกา (Easter) ที่ผ่านมา การรายงานข่าวของสื่อเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยช่วยให้เราติดตามและเข้าใจความเป็นไปของสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องยอมรับว่า การทำงานของสื่อ โดยเฉพาะสื่อและสำนักข่าวต่างประเทศที่ไม่ต้องรับผลที่จะตามมาของการรายงานข่าวของตน ก็อาจจะกลายเป็นน้ำมันที่ช่วยโหมเชื้อไฟแห่งความขัดแย้งที่ครุกรุ่นอยู่ในพื้นที่ให้รุนแรงยิ่งขึ้นได้เช่นกัน

ศรีลังกา: บาดแผลและหยดน้ำตาในเอเชียใต้

หลังจากเหตุการณ์การกราดยิงในมัสยิดที่ประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาเหตุการณ์ความสลดก็เกิดขึ้นอีกครั้งในประเทศศรีลังกาในวันอาทิตย์ที่ 21เมษายน 2562 ด้วยการวางระเบิดกว่า 8 จุด เหตุการณ์ในครั้งนี้มีผู้บาดเจ็บกว่า 500 คน จนรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ดังกล่าว แม้สถานที่ทั้งสองที่เกิดขึ้นจะต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การก่อเหตุในพื้นที่ศาสนสถานและผู้คนกำลังร่วมพิธีกรรมทางศาสนาไม่ต่างกัน

ความต่างระหว่างความเชื่อไม่ได้หมายความว่าผู้คนสามารถฆ่ากันได้ นอกจากอิสลามไม่เคยอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นแล้ว ทว่า อิสลามยังเน้นย้ำให้เราแสดงออกซึ่งความรัก ความเคารพและหลีกห่างการแสดงความเกลียดชังให้แก่กันอีกด้วย Maulana Tariq Jameel

สามเส้าของแนวคิดสุดโต่ง (ตอนที่ 1)

พร้อมๆ กับความรุนแรงในแคชมีร์ที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ชื่อของบูรฮาน วานี (Burhan Wani) เด็กหนุ่มจากเมืองปุลวามาก็ได้รับการเอ่ยถึงอยู่บ่อยครั้งทั้งจากสื่อมวลชนและประชาชนในพื้นที่ในฐานะอดีตหัวหน้านักรบของกองกำลังปลดแอกแคชมีร์ ฮิซบัลมุจญาฮิดีน (Hizb-ul-Mujahideen) ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแคชมีร์ ณ ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในประเทศซีเรีย ชามิน่า เบกุม เด็กสาวสัญชาติอังกฤษเชื้อสายบังกลาเทศหนึ่งในเด็กสาวสามคนจากเขตเบทนัลกรีนในกรุงลอนดอนที่หายตัวจากบ้านไปเพื่อเข้าร่วมขบวนการไอเอส (IS – Islamic State) ในประเทศซีเรียก็กำลังพยายามร้องขอต่อรัฐบาลอังกฤษเช่นกัน น่าสนใจว่าอะไรคือแรงกระตุ้นที่ทำให้คนหรือสังคมหนึ่งๆ มีใจโน้มเอียงไปทางแนวคิดสุดโต่ง?

Bodhu Bala Sena : แกนนำแนวคิดสุดโต่งในศรีลังกา

ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่มีความเคลื่อนไหวของแนวคิดพุทธสุดโต่งอย่างชัดเจน บทความนี้ จึงอยากให้ทุกท่านได้รู้จักกับกลุ่ม Bodhu Bala Sena หรือ The Buddhist Power Force (บ้างก็แปลว่า The Army of Buddhist Power) ซึ่งเป็นองค์กรชาตินิยมชาวพุทธสิงหล ที่เป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวและเผยแพร่แนวคิดพุทธสุดโต่งในศรีลังกา

พรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน: งานสันติภาพที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (ตอนที่ 2)

จากบทความ พรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน: งานสันติภาพที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (ตอนที่ 1) ว่าด้วยความพยายามของนักการทูตของภาคประชาชน (Citizen Diplomacy) ในการสร้างความปรองดอง ที่กลายเป็น “ตัวแสดงหลัก” ในการสร้างสันติภาพบนพื้นที่รอยต่อระหว่างเส้นพรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน นอกเหนือไปจากการทำงานของ Routes 2 Roots (R2R) แล้วยังมีการทำงานเพื่อสร้างความปรองดองของภาคประชาสังคมที่มีบทบาทสำคัญอีกหลายกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการนำสันติภาพมาสู่พรมแดนอินเดีย-ปากีสถานแห่งนี้

สูตรสำเร็จข่าวปลอมในอินเดีย ตอนที่ 2

จากสถานการณ์ปัญหาข่าวปลอมที่กระจายตัว และสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวาง รัฐบาลอินเดียได้ใช้โอกาสนี้เข้าแทรกแซงเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความยุติธรรมในการใช้อำนาจดังกล่าว จนเกิดเป็นคำถามว่ารัฐบาลจะทำลายปีศาจตัวเดิมโดยการสร้างปีศาจตัวใหม่ขึ้นมาเองหรือไม่

รามรถยาตรา ภาพสะท้อนฮินดูสุดโต่ง

รามราช ยาตรา (Ram Rath Yatra) ปี ค.ศ. 1990 ถือเป็นเหตุการณ์การแสวงบุญที่มีการจลาจล การนองเลือด และคราบน้ำตา ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ในอินเดีย จากการเอาชาตินิยมของศาสนามาเป็นเครื่องต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง ปรากฎการณ์ดังกล่าวเผยให้เห็นถึงแนวคิดฮินดูสุดโต่งในสังคมอินเดีย ประวัติศาสตร์ความทรงจำอันเลวร้ายครั้งดังกล่าวยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาจนถึงปัจจุบัน

พรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน: งานสันติภาพที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (ตอนที่ 1)

รอยบาดแผลแห่งอดีตหลังการแยกประเทศตั้งแต่ปี 1947 ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ความรุนแรงก็ยัง “ลืมตาและขับเคลื่อน” เด่นชัดกว่าภาพ “รอยยิ้ม” ผ่านเส้นพรหมแดนอินเดีย-ปากีสถาน หนำซ้ำปมแห่งอดีตได้ลามเลียสังคมอนุทวีปและกระชากความสัมพันธ์อันดีของผู้คนได้อย่างน่าใจหาย และบ่อยครั้งที่เราเสพข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องราวของความขัดแย้ง ความรุนแรง ระเบิดและการฆ่าฟันจากพื้นที่แห่งนี้ แต่ยังคงมีความพยายามของภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่มุ่งสร้างความปรองดองมาโดยตลอด เพราะคนเหล่านี้ต่างรู้ดีว่า “เส้นพรหมแดนที่มาแบ่ง” เป็นเพียง “เขตแดนแห่งความต่างและความเชื่อ”

สังหารหมู่ชาวมุสลิม “นิวซีแลนด์” ผ่านความรุนแรงอันสุกงอม

ขณะเรา “เคลื่อนวิถีโลก” และ “ผลักวิธีคิด” ของผู้คนไปสบตา “สันติภาพ” และความสวยงามของ “สันติวิธี” วันที่ 15 มีนาคม 2562 เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็ “ถีบ” เรากลับไปจมดิ่งใต้วงล้อมของความรุนแรงอีกรอบ เมื่อกระบอกปืน “เปล่งเสียง” และ “เหนี่ยวไก” เร็วกว่า “งานสันติภาพ” ที่เรากำลังเข้าใกล้ ส่งผลให้ผู้คน 49 ชีวิตล้มตายและบาดเจ็บกว่า 40 คนด้วยการถูกกราดยิงในมัสยิดในวันศุกร์

สูตรสำเร็จข่าวปลอมในอินเดีย (ตอนที่ 1)

ข่าวปลอมถือเป็นภัยทางความมั่นคงของประเทศอินเดีย เมื่อบวกกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้การแพร่กระจายเนื้อหาเป็นไปอย่างรวดเร็วและปราศจากการตรวจสอบ ดังนั้นเมื่อผู้ผลิตสื่อขาดกลไกการตรวจสอบ กำกับ ควบคุม และคัดกรองจากตนเองแล้ว รัฐบาลอินเดียจึงเล็งเห็นว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบให้เกิดความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือในส่วนของผู้เผยแพร่ข้อมูล รัฐบาลอินเดียจึงเริ่มใช้มาตรการที่จะควบคุมการแสดงตัวตนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แม้จะมีคำกล่าวที่ว่า “อินเดียเป็นประเทศประธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก”

สาเหตุนิยมความรุนแรงสุดโต่งมุสลิม

รากฐานของความวุ่นวายของสังคมมุสลิมในปัจจุบัน มิได้เกิดจากตัวบทของศาสนา แต่เกิดจากผู้ใช้หลักการทางศาสนาครึ่งใบในการนำแนวคิดการต่อสู้ และใช้ความรุนแรงโดยอ้างศาสนามาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงทางความคิด เปลี่ยนแปลงอุดุมการณ์ จนสร้างกลุ่มก้อนของแนวคิดสุดโต่งในสังคม เพื่อเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จนนำมาสู่การใช้ความรุนแรงตอบโต้กัน

สื่อใหม่ (New Media) กับการเผยแพร่แนวคิดพุทธสุดโต่ง

สื่อสังคม (Social Media) เป็นสื่อที่เปิดกว้างให้ใครก็ได้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาได้ด้วยตนเอง จนส่งผลให้กลายสื่อหลักที่ช่วยแพร่กระจายแนวคิดสุดโต่ง สร้างความเกลียดชังระหว่างคนต่างศาสนา รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการแสดงออกถึงประทุษวาจา (Hate Speech) และอาจนำไปสู่การรวมตัวเพื่อการแสดงความรุนแรงเชิงกายภาพต่อผู้นับถือศาสนาอิสลามได้อย่างง่ายดาย

Photo by Colombo Telegraph https://www.colombotelegraph.com/index.php/bodu-bala-sena-and-the-friday-forum/bodu_bala_sena_maharagama/

ทำความรู้จักกลุ่มสุดโต่ง ซิกข์

หากเราศึกษาปัญหาความรุนแรงที่กลุ่มสุดโต่งซิกข์เคลื่อนไหวในแถบเอเชียใต้ จะพบว่ามีกลุ่ม Khalistan movement คือกลุ่มสุดโต่งที่มีความต้องการแบ่งแยกดินแดนเพื่อก่อตั้งประเทศ ที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับเอกราชของอินเดีย การเคลื่อนไหวจะเกิดภายใต้รูปแบบการทำงานของพรรคการเมือง Akali Dal โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือแบ่งแยกเป็นรัฐอิสระ Khalistan

Photo by Global Village Space https://www.globalvillagespace.com/fear-of-khalistan-india-demands-uk-to-disallow-social-justice-meet/

ใครคือกลุ่ม Jaish-e-Mohammad

สาเหตุของความตึงเครียดระหว่างอินเดียกับปากีสถาน จนนำไปสู่การตอบโต้ทางทหาร และอาจเป็นประเด็นที่จะเป็นฉนวนสงคราม คือ ปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้าย Jaish-e-Mohammad, JeM (ทหารของศาสดามูฮำหมัด) ซึ่งได้ก่อการร้ายในเมือง Pulwawa ในแคว้นแคชเมียร์ของอินเดียในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นความรุนแรงในรอบหลายสิบปีที่ประสบต่อคนที่สำคัญด้านความมั่นคงของอินเดีย

Photo by https://images.theconversation.com/files/207528/original/file-20180222-152363-1re023n.jpg?ixlib=rb-1.1.0&q=45&auto=format&w=926&fit=clip

พุทธสุดโต่ง : ความหมายและการแสดงออก

เมื่อพูดถึงลัทธิสุดโต่ง คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการกระทำของชาวมุสลิมหรือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีต่อผู้นับถือศาสนาอื่น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ก็มีแนวคิดสุดโต่งด้วยเช่นกัน ดังที่จะเห็นได้จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ชาวพุทธในประเทศศรีลังกาและเมียนมา กระทำต่อผู้ที่นับถือศาสนาอื่น โดยเฉพาะศาสนาอิสลาม แม้กระทั่งในประเทศไทยเอง ก็มีการแสดงออกที่สะท้อนลัทธิสุดโต่งด้วย เพียงแต่การกระทำเหล่านั้น รับรู้กันในวงจำกัด

Photo by https://www.bbc.com/news/magazine-22356306

นิยามความสุดโต่งในทัศนะของอิสลาม

แนวคิดลัทธิสุดโต่งในทัศนะของอิสลาม คือ หลักแนวคิดที่มีการปฏิบัติเกินขอบเขตพื้นฐานของศาสนา รวมทั้งการพยายามสื่อถึงความคลั่งไคล้ทางศาสนา จนนำมาสู่แนวทางที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักการของศาสนาอิสลาม ไม่เปิดกว้างทางความคิด และใช้หลักการของตนเองเป็นที่ตั้งในการบังคับผู้อื่นให้นับถือตามหลักความเชื่อของตนเอง อย่างไรก็ตามแนวคิดสุดโต่งเกิดจากสาเหตุอีกหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งในด้านความเหลื่อมล้ำทางสังคม อุดมการณ์ทางการเมือง ชาติพันธุ์ สภาพแวดล้อมของความรุนแรง เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมในทิศทางที่ตนเองปรารถนา อาทิ การเรียกร้องให้ใช้กฎหมายอิสลาม การปกครอบแบบรัฐอิสลาม ระบอบคอลีฟะห์ เป็นต้น

Photo by Kowit Phothisan on Unsplash

ทำไมมุสลิมต้องเลือกเรียนมัดดารอซะฮ์

มัดดารอซะฮ์ (Madrasa) เป็นคำมาจากภาษาอาหรับ แปลว่า สถานศึกษาหรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับวิชาศาสนกิจของศาสนาอิสลาม เน้นการเรียนการสอนในวิชาคำภีร์อัลกรุอาน วิชาฮาดิษ (คำสอนของศาสนดามูฮำหมัด) วิชากฎหมายอิสลาม หลักจริยธรรมอิสลาม
Photo : https://yourstory.com/2015/08/skill-development-for-madrasa-students/