บาบรีมัสยิด: แผ่นดินจินตกรรมของมุสลิม-ฮินดูในอินเดีย

ขณะปัญหาจัมมูและแคชเมียร์ยังหลุดไม่พ้นจากห้วงความทรงจำของสังคมอินเดียและประชาคมโลก ปัญหาใหม่ก็ผุดขึ้นมาอีกระลอกในประเทศอินเดีย จากท่าทีการดำเนินนโยบายของนเรนทรา โมดีอยู่ภายใต้แนวคิดสุดโต่งของกลุ่มฮินดูหัวรุนแรง (RSS) ทำให้ข้อพิพาทระหว่างมุสลิมและชาวฮินดู เรื่อง บาบรีมัสยิด (Babri Mosque) ในเมืองอโยธยา (Ayodhya) ทางตอนเหนือของรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) กลับ “ฟื้นคืนชีพ” อีกครั้ง

ปากีสถาน-อิหร่าน : นัยยะสำคัญของการพบปะกันระหว่างผู้นำ 2 ประเทศ

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2562 อิมราน ข่าน (Imran Khan) นายกรัฐมนตรีของปากีสถานออกเดินทางไปยังกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เพื่อเข้าพบประธานาธิบดีของอิหร่าน ดร. ฮัสซัน โรฮานี (Dr. Hassan Rouhani)
แม้เหตุผลการเดินทางในครั้งนี้มีเป้าหมายหลักในฐานะคนกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและซาอุดิอาราเบีย แต่ประเด็นหลักที่สำหรับอิมราน ข่าน คือ “ปัญหาแคชเมียร์” ทำให้การพบปะระหว่างอิมราน ข่านและโรฮานีครั้งนี้ “ประเด็นแคชเมียร์” จึงเป็นหัวข้อการแลกเปลี่ยนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

“จัมมูและแคชเมียร์” สถานะและความเป็นไปในแผ่นดินอินเดีย

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียใต้ หลังจากรัฐบาลอินเดียได้ประกาศยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตราที่ 370 และ 35 A รวมทั้งส่งกองกำลังทหารกว่า 35,000 คนเพื่อตรึงพื้นที่ในรัฐจัมมูและแคชเมียร์ เริ่มมีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และห้ามมีการชุมนุมในที่สาธารณะ เป็นการบ่งบอกถึงสถานภาพเขตปกครองพิเศษของรัฐจัมมูและแคชเมียร์ที่เคยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งถูกบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 1957 ได้สิ้นสุดลง
การยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ส่งผลให้ดินแดนดังกล่าวต้องเปลี่ยนสถานะมาอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาลกลางของอินเดีย รวมทั้งอาจทำให้เกิด “กงล้อความรุนแรงระลอกใหม่” ขึ้นมาอีกครั้ง

พรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน: งานสันติภาพที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (ตอนที่ 2)

จากบทความ พรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน: งานสันติภาพที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (ตอนที่ 1) ว่าด้วยความพยายามของนักการทูตของภาคประชาชน (Citizen Diplomacy) ในการสร้างความปรองดอง ที่กลายเป็น “ตัวแสดงหลัก” ในการสร้างสันติภาพบนพื้นที่รอยต่อระหว่างเส้นพรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน นอกเหนือไปจากการทำงานของ Routes 2 Roots (R2R) แล้วยังมีการทำงานเพื่อสร้างความปรองดองของภาคประชาสังคมที่มีบทบาทสำคัญอีกหลายกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการนำสันติภาพมาสู่พรมแดนอินเดีย-ปากีสถานแห่งนี้

สูตรสำเร็จข่าวปลอมในอินเดีย ตอนที่ 2

จากสถานการณ์ปัญหาข่าวปลอมที่กระจายตัว และสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวาง รัฐบาลอินเดียได้ใช้โอกาสนี้เข้าแทรกแซงเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความยุติธรรมในการใช้อำนาจดังกล่าว จนเกิดเป็นคำถามว่ารัฐบาลจะทำลายปีศาจตัวเดิมโดยการสร้างปีศาจตัวใหม่ขึ้นมาเองหรือไม่

พรมแดนอินเดีย-ปากีสถาน: งานสันติภาพที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (ตอนที่ 1)

รอยบาดแผลแห่งอดีตหลังการแยกประเทศตั้งแต่ปี 1947 ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ความรุนแรงก็ยัง “ลืมตาและขับเคลื่อน” เด่นชัดกว่าภาพ “รอยยิ้ม” ผ่านเส้นพรหมแดนอินเดีย-ปากีสถาน หนำซ้ำปมแห่งอดีตได้ลามเลียสังคมอนุทวีปและกระชากความสัมพันธ์อันดีของผู้คนได้อย่างน่าใจหาย และบ่อยครั้งที่เราเสพข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องราวของความขัดแย้ง ความรุนแรง ระเบิดและการฆ่าฟันจากพื้นที่แห่งนี้ แต่ยังคงมีความพยายามของภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่มุ่งสร้างความปรองดองมาโดยตลอด เพราะคนเหล่านี้ต่างรู้ดีว่า “เส้นพรหมแดนที่มาแบ่ง” เป็นเพียง “เขตแดนแห่งความต่างและความเชื่อ”

ใครคือกลุ่ม Jaish-e-Mohammad

สาเหตุของความตึงเครียดระหว่างอินเดียกับปากีสถาน จนนำไปสู่การตอบโต้ทางทหาร และอาจเป็นประเด็นที่จะเป็นฉนวนสงคราม คือ ปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้าย Jaish-e-Mohammad, JeM (ทหารของศาสดามูฮำหมัด) ซึ่งได้ก่อการร้ายในเมือง Pulwawa ในแคว้นแคชเมียร์ของอินเดียในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นความรุนแรงในรอบหลายสิบปีที่ประสบต่อคนที่สำคัญด้านความมั่นคงของอินเดีย

Photo by https://images.theconversation.com/files/207528/original/file-20180222-152363-1re023n.jpg?ixlib=rb-1.1.0&q=45&auto=format&w=926&fit=clip