ปากีสถาน-อิหร่าน : นัยยะสำคัญของการพบปะกันระหว่างผู้นำ 2 ประเทศ

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2562 อิมราน ข่าน (Imran Khan) นายกรัฐมนตรีของปากีสถานออกเดินทางไปยังกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เพื่อเข้าพบประธานาธิบดีของอิหร่าน ดร. ฮัสซัน โรฮานี (Dr. Hassan Rouhani)
แม้เหตุผลการเดินทางในครั้งนี้มีเป้าหมายหลักในฐานะคนกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและซาอุดิอาราเบีย แต่ประเด็นหลักที่สำหรับอิมราน ข่าน คือ “ปัญหาแคชเมียร์” ทำให้การพบปะระหว่างอิมราน ข่านและโรฮานีครั้งนี้ “ประเด็นแคชเมียร์” จึงเป็นหัวข้อการแลกเปลี่ยนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ศรีลังกา: ความ “น่าจะเป็น” และความเป็นไปที่ “น่าจะห่วง”

ภายใต้สถานการณ์เปราะบางของศรีลังกาเช่นนี้ สื่อหลาย ๆ สำนัก พยายามนำเสนอในรูปของการชี้ประเด็นและชี้ชัดว่าใคร กลุ่มไหน และขับเคลื่อนด้วยวิธีใด แต่เรื่องดังกล่าวส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ สื่อของศรีลังกา จึงไม่พยายาม “ฟันธง” แบบด่วนสรุป เพราะชาวศรีลังการู้ดีว่า การนำเสนอแบบฟันธงอาจก่อให้เกิดความรุนแรงตอบโต้ตามมา จนอาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งอย่างที่เคยเกิดขึ้นระหว่างสิงหลและทมิฬในอดีตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สื่อและเหตุการณ์ความไม่สงบในศรีลังกา

ในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงในศรีลังการะหว่างเทศกาลปัสกา (Easter) ที่ผ่านมา การรายงานข่าวของสื่อเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยช่วยให้เราติดตามและเข้าใจความเป็นไปของสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องยอมรับว่า การทำงานของสื่อ โดยเฉพาะสื่อและสำนักข่าวต่างประเทศที่ไม่ต้องรับผลที่จะตามมาของการรายงานข่าวของตน ก็อาจจะกลายเป็นน้ำมันที่ช่วยโหมเชื้อไฟแห่งความขัดแย้งที่ครุกรุ่นอยู่ในพื้นที่ให้รุนแรงยิ่งขึ้นได้เช่นกัน

ศรีลังกา: บาดแผลและหยดน้ำตาในเอเชียใต้

หลังจากเหตุการณ์การกราดยิงในมัสยิดที่ประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาเหตุการณ์ความสลดก็เกิดขึ้นอีกครั้งในประเทศศรีลังกาในวันอาทิตย์ที่ 21เมษายน 2562 ด้วยการวางระเบิดกว่า 8 จุด เหตุการณ์ในครั้งนี้มีผู้บาดเจ็บกว่า 500 คน จนรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ดังกล่าว แม้สถานที่ทั้งสองที่เกิดขึ้นจะต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การก่อเหตุในพื้นที่ศาสนสถานและผู้คนกำลังร่วมพิธีกรรมทางศาสนาไม่ต่างกัน